วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

จุดเด่นของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม คือ ?

ก่อนอื่นเราก็มาดูวีดีทัศน์แนะนำมหาวิทยาลัยมหาสารคามกันก่อนนะคะ


             ดิฉันคิดว่าจุดเด่นของมหาวิทยาลัยมหาสารคามคือ พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (Mahasarakham University Museum)
                       
             
           เหตุผลก็เพราะว่า พิพิทธภัณแห่งนี้มีความสวยงาม ถึงแม้จะไม่ใหญ่โตนักแต่ก็สามารถแสดงถึงอัตลักษณ์ของมาวิทยาลัยมหาสารคามได้ นอกจากนี้แล้วยังเป็นสถานที่พักผ่อนและจัดกิจกรรมของบุคลากร นิสิต และบุคคลทั่วไป

ประวัติและความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีดังนี้

            โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน
พ.ศ.2542 โดยมีความมุ่งหมายเพื่อสื่อสารถึงอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ที่มีจุดเริ่มต้นและพัฒนาการอย่างมีความหมายและความสำคัญควบคู่มากับพัฒนาการ
ของสังคม  ตั้งแต่ยุคที่เป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม (พ.ศ.2511) จนถึง
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม (พ.ศ.2517) และเป็นมหาวิทยาลัย
มหาสารคาม (พ.ศ.2537) รวมทั้งเป็นศูนย์กลางแห่งการพัฒนาองค์ความรู้ด้าน
พิพิธภัณฑ์เพื่อส่งเสริมให้สังคมได้รับผลประโยชน์จากกิจการพิพิธภัณฑ์ ทั้งในด้าน
การปลูกจิตสำนึกแห่งคุณค่าและความสำคัญของท้องถิ่น การจัดการพิพิธภัณฑ์ให้เป็น
แหล่งเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อความต้องการของสังคม
             นอกจากนี้ โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคามยังทำหน้าที่
สนับสนุนการจัดการเรียนการสอน การวิจัย และบริการวิชาการด้านพิพิธภัณฑ์
ตลอดจนเป็นสถานที่สำหรับการพักผ่อนและจัดกิจกรรมสำหรับคณาจารย์ นิสิต
และบุคคลทั่วไป

เรามาดูกันนะคะว่าวัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง คืออะไร

         1. เพื่อจัดแสดงนิทรรศการอันแสดงถึงพัฒนาการของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ที่เกิดขึ้น  ดำรงอยู่ และเปลี่ยนแปลงอย่างมีความหมายและความสำคัญควบคู่มากับ
พัฒนาการของสังคม
         2. เพื่อเป็นแหล่งศึกษารวบรวมและบริการองค์ความรู้ด้านพิพิธภัณฑ์สำหรับสังคม
โดยเฉพาะองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการพิพิธภัณฑ์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณค่า
ต่อท้องถิ่น
         3. เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยในสาขาวิชาต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องเช่น   ด้านประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา พิพิธภัณฑ์ศึกษา
         4. เพื่อใช้เป็นสถานที่พักผ่อนและจัดกิจกรรมต่าง ๆ  นิสิต หน่วยงานใน
มหาวิทยาลัย และบุคคลทั่วไป

ภายในพื้นที่ของพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 8 ส่วน ดังนี้

          1. เรือนอีสานประยุกต์หลังใหญ่  ประกอบด้วย  สำนักงาน  ห้องประชุมใหญ่
ห้องประชุมย่อย  ห้องรับรอง  คลังพิพิธภัณฑ์  หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัย
มหาสารคาม  และนิทรรศการพัฒนาการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

                                           
           2. เรือนอีสานประยุกต์หลังเล็ก  ประกอบด้วยนิทรรศการพัฒนาการ
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  และพื้นที่สำหรับจัดนิทรรศการหมุนเวียน
 


           3. เรือนโข่ง  ปัจจุบันเป็นที่ตั้งชมรมนาฏศิลป์และดนตรีพื้นเมือง
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
           4. เรือเกย ปัจจุบันเป็นที่ตั้งโครงการอนุรักษ์ใบลานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
           5. เล้าข้าว  ตูบต่อเล้า จัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ในวิถีชีวิตชาวลุ่มแม่น้ำชี
           6. เรือนผู้ไท  จัดแสดงนิทรรศการภูมิปัชาวลุ่มแม่น้ำชี
           7. ลานกิจกรรม  เป็นพื้นที่สำหรับจัดกิจกรรมกลางแจ้ง


           8. สถานีศึกษาสัตว์

นิทรรศการ
          ภายในพิพิธภัณฑ์มีการแสดงนิทรรศการต่างๆมากมาย ดังนี้
   
     - นิทรรศการ ประวัติมหาวิทยาลัย
            นิทรรศการนี้แสดงถึงประวัติของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งแต่ยังเป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม (พ.ศ. 2511) จนพัฒนามาเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม (พ.ศ. 2517) และพัฒนามาเป็นมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (พ.ศ. 2537)

     - นิทรรศการ เรื่องเล่าของเรา เล่าเรื่องมหาวิทยาลัย
            นิทรรศการนี้มีการเล่าเรื่องเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของผู้คนและมหาวิทยาลัยที่สืบเนื่องมาจากวิทยาลัยวิชาการมหาสารคาม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม จนมาถึงมหาวิทยาลัยมหาสารคามในปัจจุบัน


      - นิทรรศการ รู้จักอีสานผ่านความรู้ ความคิดของผู้คน
             นิทรรศการนี้นำเสนอเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อีสานจากความรู้ความคิดของนักวิชาการผ่านเรื่องราวที่เกิดและเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเลา
    
       - นิทรรศการ ภูมิปัญญาชาวลุ่มน้ำชี
             นิทรรศการนี้นำเสนอองค์ความรู้หรือภูมิปัญญาของชาวลุ่มน้ำชี ซึ่งแสดงภึงความเฉลียวฉลาดในการสร้างความสมดุลระหว่งวิถีชีวิตกับสภาพแวดล้อมในด้าน "ข้าว ปลา ป่า เกลือ" รวมทั้งการนำเสนอรูปแบบหรือแนวทางการพัฒนาองค์ความรู้ให้เกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่นในกระแสสของการเปลี่ยนแปลง

รูปภาพเพิ่มเติม














       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น